เทคนิคที่ 1 : อยากเล่นให้เก่ง ต้องขยันฝึกซ้อม
การจะเล่นเปียโนให้เป็น และเก่งได้นั้นต้องอาศัยการฝึกซ้อมให้เยอะ นักดนตรีที่ประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่ผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างหนักทั้งนั้น เชื่อว่า พรสวรรค์ไม่มีทางสู้พรแสวง แม้ว่าเราจะไม่มีพรสวรรค์ แต่หากตั้งใจฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
เทคนิคที่ 2 : ขยันผิดวิธี อีกสิบปียังไม่เก่ง
จริงอยู่ว่าการฝึกซ้อมเยอะ จะยิ่งทำให้เราเก่งและเป็นเร็วยิ่งขึ้น แต่ทว่าหากซ้อมเร็วแบบผิดๆ ถูกๆ อาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะยิ่งเล่นผิดตอนซ้อมเยอะเท่าไหร่ สมองของเราก็จะจำสิ่งที่ผิดๆ จนติดเป็นนิสัย
ดังนั้นวิธีที่เปียโนจะมาแนะนำก็คือ ฝึกซ้อมช้าๆ แต่ชัวร์ เพราะการซ้อมช้าๆ จะทำให้นิ้วมือ และสมองของเราค่อยๆ ทำความคุ้นเคยกับเพลงและตัวโน้ต ดังนั้น การเล่นที่ช้าแต่แม่นยำย่อม ดีกว่าการเล่นเร็วๆ แต่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด เมื่อเล่นช้าๆ อย่างแม่นยำแล้ว จึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นจนถึงความเร็วที่เราต้องการ
เทคนิคที่ 3 : มีผู้ช่วยฝึกซ้อมที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
ขอแนะนำให้รู้จักกับ Metronome ผู้ช่วยสำคัญในการฝึกซ้อมเปียโน หลายคนที่เคยมาเรียนที่เปียโน คงจะรู้จัก Metronome (Metronome คือ เครื่องเคาะจังหวะ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เรานั้นเล่นดนตรีด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ถูกต้องตามจังหวะการเล่น) ซึ่งหากจะบอกว่า Metronome เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้เรียนเปียโนก็คงไม่ผิด
ดังนั้นหากต้องการฝึกซ้อมให้ตรงจังหวะ ควรเปิด Metronome ในช่วงแรกที่ฝึกซ้อม ปรับจังหวะการเล่นของเราให้เป็นไปตามจังหวะการนับของ Metronome แล้วการพัฒนาด้านจังหวะในการเล่นดนตรีของคุณจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วทีเดียว สำหรับผู้เล่มมือใหม่ที่ไม่ต้องการซื้อเครื่อง Metronome สามารถดาวน์โหลดได้จากแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ หรือหากต้องการหาซื้อเครื่อง Metronome สามารถทักมาปรึกษาวิธีเลือกซื้อที่เปียโนครูเอ๋ได้
เทคนิคที่ 4 : เริ่มฝึกซ้อมจากช่วงสั้นๆ จนต่อกันเป็นเพลง
เทคนิคที่เปียโนใช้ในการสอน รวมถึงใช้ฝึกซ้อมเองก็คือ การเริ่มต้นเล่นเปียโนจากช่วงสั้นๆ ซ้อมเจาะเป็นจุดๆ ในประโยคหรือห้องเพลง ฝึกจนคล่องในช่วงของเพลง จากนั้นจึงผสมประโยคสั้นๆ ต่อกันจนกลายเป็นเพลงที่ยาวขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อยรวมทั้งเพลงเข้าด้วยกัน เพลงเท่านี้เราก็สำเร็จในการฝึกซ้อมไปอีกขั้น
เทคนิคที่ 5 : การเล่นเปียโน ไม่เท่ากับ (≠) การฝึกซ้อมเปียโน
หลายครั้งเรามักเข้าใจผิดว่าการเล่นเปียโนเพลงเดิมๆ ซ้ำๆ คือการฝึกซ้อม แต่อันที่จริงแล้วการซ้อมแตกต่างจากการเล่นโดยสิ้นเชิง เพราะการเล่นเปียโน คือ การเล่นเพลง หรือ จังหว่าที่เราทำได้อยู่แล้ว เล่นให้เกิดความสนุก สบาย ไม่รู้สึกเหนื่อยหรือต้องใช้ความพยายามในการเล่นเพลงนั้นๆ แต่ การฝึกซ้อม คือ การพยายามทำในสิ่งที่เรายังทำไม่ได้ หรือ ทำไม่ดี ในช่วงที่ซ้อมอาจจะฟังไม่เป็นเพลง
ดังนั้นแนะนำว่า เราควรแบ่งการฝึกซ้อมออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกฝึกเล่นทบทวนเพลงที่เล่นเป็นอยู่แล้ว และแบ่งเวลาอีกช่วงสำหรับการฝึกซ้อมโฟกัสกับสิ่งที่เรายังไม่เก่ง ในไม่ช้าเราจะเล่นได้เก่งแน่นอน
เทคนิคที่ 6 : ยิ่งยาก ยิ่งเก่ง
ขอขยายหัวข้อการฝึกซ้อมสิ่งที่ยากเป็นอีก 1 เทคนิคที่สำคัญสำหรับการฝึกซ้อมของผู้ที่สนใจเรียนเปียโน เราควรหมั่นฝึกซ้อมและหาความรู้จากเทคนิคใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ หรือ ยังทำไม่ได้ อาจจะทำให้รู้สึกเหนื่อน ยาก ลำบากในช่วงต้น แต่รับรองว่าผลลัพธ์ที่ตามมา จะทำให้คุณเก่งขึ้นแน่นอน
เทคนิคที่ 7 : หมั่นฝึกซ้อมจากการฟัง และ ดูดนตรี
หาแรงบันดาลใจในการฝึกซ้อมจากการดูว่านักดนตรีคนอื่นๆ เขาเล่นเก่งกันขนาดไหน หรือ แม้แต่การลองไปแสดงบนเวที หรือ การลงแข่งขันดนตรี ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ดีในการตั้งเป้าหมายในการฝึกซ้อมให้กับตัวเราเอง
สำหรับเทคนิคการหาแรงบันดาลใจในการฝึกซ้อม คือ การสอบวัดระดับจากสถาบันดนตรีชั้นนำ จนทำให้วันนี้ได้รับ Certificate Grade 8 Piano จากสถาบัน Trinity College London และ Grade 6 Piano จากสถาบัน The Associated Board of the Royal Schools of Music แล้วแรงบันดาลใจของคุณล่ะคืออะไร
เทคนิคที่ 8 : รับฟังข้อติชมจากผู้อื่น
คำติชม คือ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เราเก่งขึ้น อย่ากลัวที่จะโดนตำหนิ ยิ่งเป็นคำติชม หรือ นักดนตรีที่มีประสบการณ์ด้วยแล้วยิ่งควรรับฟัง และนำกลับไปปรับปรุงในการฝึกซ้อม เชื่อว่าคุณจะเก่งขึ้นอย่างแน่นอน