1. เพิ่มทักษะการคิด และจดจำ เพราะผู้เรียนจะต้องอ่านโน๊ต กระตุ้นให้ประมวลผลออกมาเป็นเสียง ร้องออกมาในรูปแบบ โด-เร-มี และยังต้องจดจำไม่ว่าจากเสียงโน๊ต หรือจากชีทเพลงก็ตาม เมื่อคุ้นชินในการอ่านโน๊ต มีการฝึกฝน หมั่นซ้อมเป็นประจำ จะทำให้เล่นเพลงออกมาได้ดี
2. ความสัมพันธ์ของร่างกาย เพราะการเล่นดนตรี ไม่ได้ใช้เพียงอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เป็นการทำงานร่วมกันของตา หู สมอง และนิ้ว ซึ่งเป็นผลดีกับผู้สูงวัน ที่ยังไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีของร่างกาย ทำให้ยังคงทำสิ่งอื่นๆในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เมื่ออายุมากขึ้น จะเริ่มทำให้กล้ามเนื้อต่างๆของร่างกายเสื่อมลง การหยิบจับสิ่งของต่าง หรือการเล่นดนตรีเพื่อออกกำลังในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็ก จะช่วยให้คง หรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้
4. เพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรี นอกเหนือจากการในเรียนในบทเรียนที่ฝึกทักษะของการเล่นแล้ว ยังทำให้เพลิดเพลิน และมีความสุขไปกับเสียงเพลงอีกด้วย เพราะสามารถเลือกเรียนผ่านบทเพลงที่ชื่นชอบ ทำให้คลายเหงา ควายกังวล สร้างร้อยยิ้ม ความสุขและความทรงจำดีดีให้ รวมถึงทำให้มีเรื่องราวไปเล่า เข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน พบเพื่อนใหม่ที่สนใจด้านดนตรีอีกด้วย
5. สร้างคุณค่า และความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มอยู่ในวันเกษียณ ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ จะเริ่มมีความเบื่อหน่าย หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเครียด หรือซึมเศร้าได้ การเล่นดนตรี สามารถช่วยสร้างเป้าหมายให้กับผู้สูงวัย เมื่อเล่นจนจบเพลงได้ ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหากคนรอบข้างต่างชื่นชมในความสามารถ